หน้าแรก Trivia ว่าด้วยการสร้างหลุมดำใน Interstellar

ว่าด้วยการสร้างหลุมดำใน Interstellar

ปกติแล้วการเรนเดอร์แสงในหนังจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Ray Tracing ซึ่งสร้างจากสมมติฐานที่บอกว่าแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่สำหรับการสร้างหลุมดำที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ในหนัง Interstellar ทีมซีจีกลับต้องเขียนตัวเรนเดอร์แสงใหม่ทั้งหมด เพราะฟิสิกส์ของแสงสำหรับหลุมดำนั้นกลับเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งตามแรงโน้มถ่วงรอบหลุมดำ หรือที่ไอน์สไตน์เรียกว่าปรากฏการณ์ เลนส์ความโน้มถ่วง (Gravitational lens)

ผลก็คือทีมซีจีใช้เวลาเรนเดอร์แสงไปกว่า 100 ชั่วโมงต่อ 1 เฟรม หรือพูดง่ายๆ ก็คือ 1 วินาทีของหลุมดำที่คุณเห็นในหนังใช้เวลาเรนเดอร์ประมาณ 100 วัน ซึ่งมีขนาดข้อมูลทั้งหมดกว่า 800 เทระไบท์เลยทีเดียว

ที่บอกว่า 1 วินาทีใช้เวลาเรนเดอร์ราวๆ 100 วัน เป็นการเปรียบเทียบว่ามันยาวนานมากๆ สำหรับการเรนเดอร์งานปกติ แต่จริงๆ แล้วโลกมีสิ่งที่เรียกว่าเรนเดอร์ฟาร์ม (Render Farm) ซึ่งก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผล เพื่อให้งานเรนเดอร์รวดเร็วขึ้น ดังเช่นตอนที่ดิสนีย์ทำหนัง Big Hero 6 พวกเขาใช้เรนเดอร์ฟาร์มของตัวเองที่ใหญ่เป็นอันดับ 75 เมื่อเทียบกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่บนโลก

ที่บอกว่า 1 วินาทีใช้เวลาเรนเดอร์ราวๆ 100 วันเป็นการเปรียบเทียบว่ามันยาวนานมากๆ สำหรับการเรนเดอร์งานปกติ แต่จริงๆ แล้วโลกมีสิ่งที่เรียกว่าเรนเดอร์ฟาร์ม (Render Farm) ซึ่งก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผล เพื่อให้งานเรนเดอร์รวดเร็วขึ้น ดังเช่นตอนที่ดิสนีย์ทำหนัง Big Hero 6 พวกเขาใช้เรนเดอร์ฟาร์มของตัวเองที่ใหญ่เป็นอันดับ 75 เมื่อเทียบกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่บนโลก

อ่านเรื่องน่ารู้อื่นๆ ได้ ที่นี่

ที่มา electronicdesign, engadget, zmescience